วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


วรรณกรรมท้องถิ่น



ภูมิหลัง
วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่บันทึกเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่การประพฤติปฏิบัติของประชาชนธรรมดาทั่วไป ซึ่งประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
                มติคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับชาติว่าด้วยการพิทักวัฒนธรรมพื้นบ้าน ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ปารีส ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2525 กำหนดขอบข่ายของวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ว่าคือสิ่งที่เป็นสมบัติแห่งภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิทักโดยกลุ่มและเพื่อกลุ่มที่สิ่งนั้นเกี่ยวข้องและแสดงเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มครอบครัว อาชีพท้องถิ่น ศาสนาและวัฒนธรรมย่อยๆ ฯลฯ และรูปแบบที่วัฒนธรรมพื้นบ้านปรากฏ ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม ดนตรี การฟ้อนรำ การละเล่นเทพปกรณัม พิธีกรรม ความเชื่อ กิจกรรมประเพณี หัตถกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปะด้านอื่นๆ 

 เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นบ้านมีขอบข่ายกว้างขวางดังได้กล่าวมาแล้ว เพื่อสะดวกแก่การศึกษา จึงได้จำแนกประเภทวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยอาศัยรูปแบบเป็น ประเภท ดังนี้
1.วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทที่ต้องอาศัยภาษา ได้แก่
1.1 นิทานพื้นบ้าน เช่น เทพนิยาย นิทานประจำถิ่น นิทานวีรบุรุษ นิทานเกี่ยวกับสัตย์ นิทานอธิบายเหตุ นิทานตลกขบขัน นิทานร่าเริง
1.2 ภาษาถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมการพูดจาและการตั้งชื่อ เช่น ชื่อบ้านนามเมืองที่มีความเชื่อไปเกี่ยวข้อง
1.3 บทภาษิต คำคม คำพังเพย
1.4 ปริศนาคำทาย
1.5 คำพูดที่คล้องจองกัน เช่น คำกลอนสำหรับเด็ก
1.6 เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงพื้นบ้านที่ร้องด้วยภาษาถิ่น ที่มีทำนองเป็นของท้องถิ่น เช่น เพลงกล่อมเด็ก บทขับร้องเป็นเรื่องราว 



2.วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทที่ไม่ต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ได้แก่
2.1 สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน
2.2 ศิลปะพื้นบ้าน
2.3 หัตถกรรมพื้นบ้าน
2.4 เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน
2.5 อาหารพื้นบ้าน การบริโภคและนิสัยของชาวบ้าน
2.6 อากัปกิริยาของชาวบ้าน เช่น ท่าทางแสดงอาการอาย อาการโกรธ อาการตอบรับและปฏิเสธและอากัปกิริยาทั่วๆไป
2.7 ดนตรีพื้นบ้าน

3.วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทประสมประสาน ได้แก่
3.1 ความเชื่อ ได้แก่การถือโชคลาง คาถาอาคม การทำเสน่ห์และเครื่องรางของขลัง
3.2 ละครชาวบ้าน การละล่นพื้นบ้าน และระบำของชาวบ้าน
3.3 ประเพณี และพิธีกรรมพื้นบ้าน
3.4 งานมหกรรม พิธีฉลอง
3.5 การเล่นหรือกีฬาพื้นบ้าน รวมทั้งการเล่นของเด็ก
3.6 ยากลางบ้าน

จาการแบ่งประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทุกอย่างของคนในท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการเมือง

พรทิพย์ ซังธาดา.(2538). วรรณกรรมท้องถิ่น.กรุงเทพ, สุวีริยาสาส์น, 2538.11-18หน้า.